ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด

Comments · 153 Views

ในระบบการเงินของทุกประเทศ จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินทำหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนวงจรการไหลเวียนของเ

ในระบบการเงินของทุกประเทศ จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินทำหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนวงจรการไหลเวียนของเงินให้เกิดความคล่องตัว และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากไม่มีสถาบันการเงิน พ่อค้า นักธุรกิจ ตลอดจนประชาชน ก็จะเกิดความวุ่นวายยุ่งยากในการทำธุรกิจหรือดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับเงิน

 

สถาบันการเงินที่สำคัญๆ ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

 

1.ธนาคารกลาง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ทำหน้าที่ในการรับฝากและให้กู้

เงินแก่ประชาชน แต่ทำหน้าที่ดังกล่าวให้กับธนาคารพาณิชย์และรัฐบาล นอกเหนือจากการ

ดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน อันเป็นเรื่องสำคัญ

ของประเทศที่จะต้องมีคนกลางทำหน้าที่เหล่านี้ให้กับธนาคารพาณิชย์และประชาชน

 

 

โดยสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย คือ ตลาดการเงิน โดยเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกรรมเพื่อการกู้ยืมและการลงทุน ซึ่งเงินที่หมุนเวียนในระบบการเงินจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

 

2.ธนาคารพาณิชย์คือ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ และสาขาธนาคาร

 

พาณิชย์ต่างประเทศที่เปิดทำการในประเทศไทย ทำการรับฝากและให้กู้ยืมเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับผู้ที่ต้องการใช้เงิน กล่าวคือ นำเงินออมของประชาชนไปสู่การใช้เงินของบริษัท ห้างร้าน วิสาหกิจต่างๆ ระบบนี้ช่วยลดความเสี่ยงให้กับกิจการและระบบการเงินตั้งแต่ต้น เพราะหากผู้ขอกู้ยืมเงิน เสนอโครงการที่ไม่มีความแน่นอนทางการเงิน หรือมีความเสี่ยงต่อความอยู่รอดในอนาคต ธนาคารพาณิชย์จะปฏิเสธการปล่อยเงินกู้ เท่ากับช่วยคัดกรองธุรกิจที่ดีๆ เข้าสู่ระบบการเงิน

 

3.ธนาคารเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะเนื่องจากแต่ละแห่งก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างวิสัยการออมเงินให้กับประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อด าเนินกิจกรรมเฉพาะเรื่องใด

เรื่องหนึ่ง แต่ทุกแห่งก็ยังให้บริการรับฝากและให้กู้ยืมเงินที่ไม่ได้แตกต่างไปจากธนาคารพาณิชย์มากนัก

 

4.บริษัทประกันชีวิต ถือเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง เพราะให้บริการออมเงินควบคู่กับการให้ความคุ้มครองชีวิต กล่าวคือ ภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้กับผู้เอาประกัน บริษัทจะรับเงินเบี้ยประกัน จนถึงเวลาหนึ่ง แล้วจึงจ่ายคืนให้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยในระหว่างนั้นบริษัทจะจ่ายเงินให้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยเมื่อเกิดภัยกับร่างกายหรือชีวิตของผู้เอาประกัน

 

5.โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยรับจำนำทรัพย์สิน อาทิ สร้อย แหวน นาฬิกา ทีวีเป็นต้น เป็นการให้การช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ต้องการใช้เงินในระยะสั้น 4 - 5 เดือน เช่น น าเงินไปจ่ายค่าเล่าเรียนของบุตรในตอนเปิดเทอม เป็นต้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน นักธุรกิจก็ได้ใช้บริการของโรงรับจำนำมากขึ้น เนื่องจากการกู้ยืมเงินทำได้ง่ายและรวดเร็วเพียงมีทรัพย์สินไปวางประกันเท่านั้น โรงรับจำนำเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี

 

6 .อื่นๆ อาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฯลฯ เหล่านี้เป็น สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เปิดขึ้นเพื่อกิจกรรมเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สำหรับบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารพาณิชย์คือรับ ฝากเงิน/กู้ยืมเงินจากประชาชน แล้วนำมาปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจต่างๆด้วย

 

7.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นสถาบันการเงินกลาง ทำหน้าที่เก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คิดเป็นอัตราส่วนจากเงินรับฝาก นำมาเก็บไว้เป็นกองกลางเพื่อส ารองไว้จ่ายให้กับผู้ฝากเงินกรณีมีสถาบันการเงินที่กล่าวประสบปัญหาต้องปิดกิจการ โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะจ่ายเงินให้กับผู้ฝากเงินและชำระบัญชีสถาบันการเงินนั้นๆ โดยจ่ายตามจำนวนที่ประกาศให้ความคุ้มครอง หากผู้ฝากเงินยังได้รับเงินฝากคืนไม่ครบ ส่วนที่เหลือจะจัดสรรให้ตามส่วน เมื่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำการชำระบัญชีสถาบันการเงินแห่งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว

 

อีกหนึ่งคำถามยอดฮิต

คำถามยอดฮิต ฝากเงินกับธนาคารไหนดี ?

 

ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด ?

 

ฝากเงินกับธนาคารไหนดี ?

 

 

1. ฝากเงินสำหรับใช้จ่ายทั่วไป

 

ผู้ที่ต้องการฝากเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป ฝากเงินไว้ในบัญชีใหม่ที่แยกออกจากบัญชีเงินเดือน มีความคล่องตัวสูงในการโอน เบิก ถอน สิ่งที่ควรพิจารณานอกเหนือไปจากอัตราดอกเบี้ย ที่แต่ละธนาคารให้แทบจะไม่แตกต่างกันก็คือ สิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์การใช้งานของเรา

 

2. ฝากเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี

 

สำหรับใครที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องการฝากเงินเพื่อใช้ในเป้าหมายระยะสั้นที่ไม่เกิน 3 ปี เช่น ฝากเงินเพื่อเก็บเงินเรียนต่อ ฝากเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ ฝากเงินเพื่อใช้เป็นงบในการท่องเที่ยว รวมถึงฝากเงินสะสมเป็นเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ยามจำเป็น ในเป้าหมายระยะสั้นแบบนี้ สิ่งที่ควรมองหาคือ บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูง สามารถเลือกระยะเวลาในการฝากเงินเองได้ตามความสะดวกของเรา เพื่อให้สามารถเก็บเงินก้อนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

3. ฝากเงินเพื่อเป้าหมายระยะกลาง-ยาว ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และมีหลายเป้าหมาย

 

เป้าหมายในการฝากเงินระยะกลาง ไปจนถึงระยะยาวของหลายคนอาจไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียว เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าในอีก 2 ปีต้องการฝากเงินเพื่อดาวน์รถ และในอีก 4 ปีต่อไปต้องฝากเงินเพื่อใช้เป็นค่าเทอมเรียนต่อ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเปิดบัญชีให้ลูก พร้อมต้องการแยกเก็บเป็นบัญชีย่อยตามค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเทอม ค่ากิจกรรม ค่าอุปกรณ์การเรียน

 

สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาสำหรับการฝากเงินในกลุ่มวัตถุประสงค์นี้ คือการให้ดอกเบี้ย และผลตอบแทนที่สูง มีเครื่องมือในการแยกออมตามเป้าหมายที่ครบอยู่ในบัญชีเดียว และท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจตอนนี้ การเบิกถอนเงินเมื่อไหร่ก็ได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรมองหา

 

ในระบบการเงินของทุกประเทศ จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินทำหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนวงจรการไหลเวียนของเงินให้เกิดความคล่องตัว และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากไม่มีสถาบันการเงิน พ่อค้า นักธุรกิจ ตลอดจนประชาชน ก็จะเกิดความวุ่นวายยุ่งยากในการทำธุรกิจหรือดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับเงิน

 

 

ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด ?

 

เป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

 

ฝากเงินธนาคารไหนดี ในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ

 

หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่

 

1. การออกพันธบัตร

2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ

3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย

5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร

6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน

7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ

 

Website: https://www.dpa.or.th/

Social Link:

https://th-th.facebook.com/dpathailand/

https://www.youtube.com/channel/UC0ZTgeKdFlbGumCyE8OPMng

Comments